กระจกสีใส ( Clear Glass ) ความร้อนจะผ่านได้มาก แต่ตัวเนื้อกระจกเองจะเก็บความร้อนน้อย กระจกสีต่างๆ ( Tint Glass ) มีสีสรรสวยงาม แต่ข้อเสียก็คือ ตัวเนื้อกระจกจะเก็บความร้อนมากกว่า
กระจกใสในปัจจุบัน มีสีให้เลือกมากมายเช่น Bronze Tinted Glass กระจกสีชาเท่าที่พบจะมีความหนาสุดไม่เกิน 6 มม. ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ชาอ่อน ( ปัจจุบันประเทศไทยไม่ได้ผลิตแล้ว หากกระจกชนิดนี้แตก ก็คงหาเปลี่ยนได้ยากมาก ) และ ชาดำ จะมีสีเข้มจนดำเหมือนกระจกติดฟิล์มดำ หากกระจกแตกก็ยังพอหาทำยาได้ครับ Green Tinted Glass สีเขียว Blue Tinted Glass สีฟ้า Azulite Tinted Glass สีคลาม น้ำทะเล * กระจกต่างๆนอกเหนือจากนี้ เป็นการนำเอากระจก Clear Glass และ Tinted Glass มาทำทั้งสิ้น หรือ สีแปลกๆจากนี้อาจเป็นกระจกนำเข้า*
ชนิดของกระจก ANNEALED GLASS จะหมายถึงกระจกที่ได้จากโรงงานผลิต ทั่วๆไป ยอมให้แสงผ่านได้ 80 -95%
TEMPERED GLASS เป็นการนำเอา Annealed Glass มาผ่านกรรมวิธี อบด้วยความร้อน 700 องศา แล้วทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า Heat Treatment กระจกชนิดนี้มีความแข็งแกร่ง กว่ากระจก Annealed Glass ประมาณ 4 เท่า แต่เมื่อแตกจะเป็นชิ้นเล็กๆ เหมือนเกล็ดน้ำแข็ง เหมาะสำหรับการทำประตูบานเปลือย แต่ไม่ควรนำไปทำ Skylight เพราะปัญหาของกระจกชนิดนี้ก็คืออาจเกิดระเบิดได้เพราะในขั้นตอนการผลิตในเนื้อกระจกอาจมี Nickle Sulfle จากเตาหลอมร่วงหล่นลงไปผสมอยู่ และ Nickle Sulfle นี้จะขยายตัวขึ้นเรื่อยๆจนทำให้กระจกแตกหรือระเบิดได้ จึงไม่ควรนำไปใช้ในที่สูงๆ อีกทั้ง กระจกชนิดนี้ ถ้ามีรอยบิ่น หรือรอยเจาะ 1 ใน 6 ของความหนาของกระจก ก็จะทำให้กระจกแตกได้ขนาดของกระจก Tempered Glass ควรจะมีขนาด ประมาณ 3.50x2.40 เมตร หรือ สูงสุดไม่เกิน 10 เมตร กระจกชนิดนี้เมื่อผ่านการอบตามขบวนการแล้ว จะไม่สามารถตัดแบ่งเป็นชิ้นๆ ได้อีก เพราะมันยอมแตกไม่ยอมแบ่ง
HEAT STRENGTHEDเป็นการนำเอา Annealed Glass มาผ่านกรรมวิธี อบด้วยความร้อน 700 องศา แล้วทำให้เย็นลงอย่างช้าๆ กระจกชนิดนี้มีความแข็งแกร่ง กว่ากระจก Annealed Glass ประมาณ 2 เท่า
REFLECTIVE GLASS หรือ กระจกวันเวย์ (หากในห้องมืดกว่าข้างนอก คนภายนอกจะมองไม่เห็นคนที่อยู่ภายในห้องได้) เป็นการนำเอากระจก Heat Strengthed มาผ่านการฉาบ หรือ Coat แบ่งการ Coat ออกเป็น ON LINE หรือ ที่เรียกว่า Hard Coat เป็นการ Coat ภายนอกกระจก ทำให้สะท้อนความร้อนได้ดี แต่จะมีข้อ คือเสียหายได้ง่าย เนื่องจาก ฟิลม์ ที่ฉาบอยู่ด้านนอก ความเสียหาย จากรอยขีดขวนที่เกิดจาก ฝุ่นผง คราบสกปรกต่างๆ คราบน้ำมัน เป็นต้น OFF LINE ฟิลม์ ที่ฉาบอยู่ด้านใน ทำให้กระจกเก็บความร้อนไว้ในเนื้อกระจก แต่มีข้อดีที่ ตัวกระจกจะสัมพัสกับสิ่งสกปรกได้น้อยกว่ากระจกที่ Coat ไว้ด้านนอก แต่ความเสียหายก็มีโอกาศเกิดจากผู้ใช้อาคารได้ด้วย กระจกสีตัดแสงดูดกลืนความร้อน (Heat Absorbing Glass)มีสีสัน รวมถึงคุณสมบัติในการดูดกลืนความร้อนและลดปริมาณแสงส่องผ่าน ปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับความเข้มของสี ความหนาและสีของกระจก กระจกแบบนี้ จะมีการผสมโลหะออกไซด์เข้าไปในส่วนผสมในขั้นตอนการ ผลิต( เรียกว่า Batch Mix Process) ทำให้กระจกมีสีสัน รวมถึงคุณสมบัติในการดูดกลืนความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ส่องมากระทบผิวกระจกและลดปริมาณแสงที่ผ่านกระจก ปริมาณแสงที่จะทะลุผ่านกระจกสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี ความหนาและสีของกระจก Reflective Metallic Coating Glass - เป็นกระจกเคลือบผิว(Surface Coated Glass)ชนิดหนึ่ง โดยนำเอากระจกธรรมดาไปเข้ากระบวนการเคลือบโลหะบางชนิดบนผิวกระจก เพื่อให้เกิดผลในการการสะท้อนแสงและความร้อน และความสวยงามทางสถาปัตยกรรม กระจกเคลือบผิวนี่ มีทั้งแบบ 3.1. เคลือบผิวโดยใช้ไททาเนี่ยมบริสุทธิ์ (Ti)เป็นตัวหลักในการเคลือบ ซึ่งก็จะมีสีสันและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เช่น รหัส TBU - Blue ,TS - Steel Blue ,SS - Silver , TE - Titanium Earth (ทั้งหมดเป็นกระจกที่ผลิตในกระบวนการแบบ AIRCO มาจากชื่อบริษัท ที่ผลิตกระจกแบบนี้ค่ะ เคลือบผิวโดยใช้ดีบุกบริสุทธิ์ (Sn)เป็นตัวหลักในการเคลือบ คุณสมบัติก็ใกล้เคียงกับ AIRCO แต่จะให้สีสันที่แตกต่าง จะมีรหัสเรียกตามสีสันเช่น BR - Bronze ,SL - Silver ,AS - Antique Silver SB - Sapphire Blue ,BR - Bronze ( ทั้งหมดเป็นกระจกที่ผลิตในกระบวนการแบบ LEYBOLD มาจากชื่อบริษัทผู้ผลิตเช่นกัน ) ซึ่งกระบวนการและเทคโนโลยีที่ใช้ในการเคลือบผิวกระจกนั้นจะมีทั้งแบบ ก. Pyrolitic Deposition or Hard Coating คือเคลือบกันในขณะที่กระจกยังเหลวอยู่ วิธีนี้ออกไซด์ของโลหะจะแทรกลงไปในเนื้อกระจก ทำให้กระจกที่เคลือบแบบนี้มีความแข็งแรงทนทานต่อการขูดขีด กว่ากระจกที่เคลือบแบบVacuum Deposition แต่สีและสารเคลือบอาจมีความไม่สม่ำเสมอ เพราะออกไซด์ของโลหะจะไม่สามารถกระจายตัวไปบนเนื้อกระจกได้เท่าๆกัน
ข. Vacuum Deposition or Soft Coating หรือการเคลือบแบบสูญญากาศซึ่งในกระบวนการนั้น จะพ่นออกไซด์ของโลหะไปบนผิวด้านหนึ่งของแผ่น กระจกที่เซ็ตตัวแล้ว ภายใต้ภาวะไฟฟ้าสถิตย์ ทำให้ออกไซด์ของโลหะเกาะติดบนผิวกระจก ทำให้สีและสารเคลือบกระจายตัวสม่ำเสมอดีกว่าแบบ Pyrolitic Deposition แต่การเคลือบด้วยวิธีการนี้สารที่เคลือบจะถูกขูดขีดออกได้ง่าย และกระจกแบบนี้จะนำไปทำกระจกเทมเปอร์หรือฮีตสเตรงค์ เนื่องจากออกไซด์ของโลหะจะถูกทำลายด้วยความร้อนในกระบวนการผลิต
.Insulating Glass - กระจกฉนวนกันความร้อน กระจกฉนวนกันความร้อน จะผลิตโดยการนำเอากระจกอย่างน้อย 2 แผ่น มาประกบกัน
Laminated Glass เป็นการนำกระจกชนิดต่างๆมาประกบกันเป็นสองชั้น โดยตรงกลางจะเป็นแผ่นฟิลม์ PVB ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันเสียง กระจกชนิดนี้ถ้าแตกแล้วจะไม่ร่วงหล่น เพราะจะยึดเกาะกันอยู่แผ่นฟิลม์ PVB ที่ใช้จะมีความหนา 0.38 แต่ถ้าใช้ในพื้นที่ ที่มีความลาดเอียงเช่น Skylight แผ่น PVB ที่ใช้จะมีความหนา 0.76 และ Slope ควรเท่ากับ 15 องศาเป็นอย่างน้อย เนื่องจากกระจกอาจตกท้องช้างได้และถ้า พื้นที่ดังกล่าวเกินกว่า 12 ตารางฟุต กระจกที่ใช้จะต้องเป็น Heat Strengthed เท่านั้น บางแบบก็เอากระจกชนิดต่างๆมาประกบกันเป็นสาม หรือ สี่ชั้น เพื่อเสริมความแข็งแกร่ง ไว้กันขโมย หรือ กันกระสุน (แต่เดียวนี้เขามาฟิล์มที่มีความเหนี่ยวมากๆ เอามาติดซ้อนกันหลายๆชั้น ก็กันกระสุน หรือ กันอันตรายขณะเวลาขับรถ แล้ว มีผู้ร้ายโยนหินใสกระจกหน้ารถ กระจกหน้ารถมีรอยแตก แต่ หิน หรือ กระสุน จะไม่ทะลุเข้ามาในห้องโดยสาร )
INSULATION GLASS เหมือน กระจก Laminated Glass โดยมีสารดูดความชื้น(Desiccant) คั่นกลาง ดังนั้น อากาศภายในช่องระหว่างกระจกทั้งสองแผ่น จะกลายเป็นอากาศแห้ง ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นฉนวนความร้อนที่ดีมาก (หลักการ คือ ให้อากาศแห้งที่ทำหน้าที่ป้องกันการถ่ายเทความร้อนจากด้านใดด้านหนึ่งของกระจก) แต่จะเว้นช่องว่างระหว่างกระจกไว้ หรือเรียกว่า Air Space ระยะตั้งแต่ 6,8,10,12 มม. ช่วยในการลดความร้อน ความหนารวมทั้งหมดต้องไม่เกิน 18 มม. ราคาแพงโคตร ๆ
LAMINATED INSULATION GLASS คือการนำกระจก Laminated Glass มาประกบกัน และจะเว้นช่องว่างระหว่างกระจกไว้ หรือเรียกว่า Air Space เหมาะสำหรับทำ Skylight
|