นับจากอดีตมา น้ำดื่มที่ใช้บริโภคทั่วไป จะได้จากการเก็บกักน้ำฝนไว้ในภาชนะต่าง ๆ เช่น โอ่ง หรือไห หรือจากแหล่งน้ำใต้ดิน เช่น น้ำ บาดาล หรือได้จากแหล่งน้ำผิวดิน เช่น น้ำจากแม่น้ำ ลำธาร โดยอาจจะผ่านการแกว่งด้วยสารส้ม หรือเก็บน้ำไว้ให้ตกตะกอนจนใสพอจะใช้ ต้ม ดื่มได้ ปัจจุบัน เนื่องจากการเจริญเติบโตทุก ๆ ด้านทั้งทางด้านอุตสาหกรรม กสิกรรม ฯลฯ และมีการใช้สารเคมีต่าง ๆ มาใช้กันทั่วไป โดยขาด การควบคุมดูแลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ดีพอ จึงทำให้แม่น้ำ ลำธารต่าง ๆ ปนเปื้อนสารเคมี หรือสกปรกจนไม่น่านำมาดื่ม ส่วนน้ำบาดาล ก็ ถูกสูบไปใช้ในงานต่าง ๆ จนความสมดุลย์ของน้ำจืดและน้ำเค็มเสียหาย น้ำบาดาลในหลาย ๆ แห่งจึงมีรสกร่อย เนื่องจากน้ำเค็มจากทะเล ไหล เข้ามาปะปน ส่วนน้ำฝนนั้นเล่าก็โดนปัญหาฝุ่นละอองและสารเคมีตกค้างในอากาศ กลายเป็นฝนกรดไป ทุกวันนี้ เรามีหน่วยราชการคือการประปา ส่งน้ำมาตามระบบจำหน่ายมายังอาคารบ้านเรือน ซึ่งเป็นน้ำที่ได้ผ่านขบวนการบำบัดและทำ ความสะอาดจนมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมต่อการใช้โดยไม่เป็นอันตรายอยู่แล้ว แต่ในบางขณะจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม น้ำดังกล่าวอาจมี การปนเปื้อนเกิดขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากความขุ่นหรือตะกอนแขวนลอย สี กลิ่น ความกระด้าง ในปริมาณที่ก่อให้เกิดความรังเกียจและไม่ เหมาะสมที่จะนำไปใช้ดื่ม เครื่องกรองน้ำจึงเข้ามามีบทบาทเพื่อใช้ในการขจัดสิ่งปนเปื้อนส่วนเกินออกไป เครื่องกรองน้ำได้พัฒนามานาน จนทุกวันนี้มีเครื่องกรองน้ำหลาย ๆ รูปแบบวางจำหน่ายในท้องตลาด มากจนไม่รู้ว่าจะซื้อแบบใด ชนิด ใดมาใช้กับบ้าน, ที่อยู่อาศัย, โรงงาน, ที่ทำงาน หรือให้ตรงกับที่ใจเราต้องการ ซึ่งการที่จะเลือกใช้หรือซื้อเครื่องกรองน้ำ ควรได้ทราบถึงเครื่อง กรองน้ำประเภทต่าง ๆ ที่ใช้กันทั่วไป และวิธีการกรอง โดยสามารถแบ่งออก เป็นได้ ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
๑. เครื่องกรองน้ำแบบใส้กรอง |
๒. เครื่องกรองน้ำแบบสารกรอง |
๓. เครื่องกรองน้ำแบบผสมผสาน |
๒.๑ สารกรองคาร์บอน
๒.๒ สารกรองเรซิน สารกรองประเภทนี้จะมีอยู่ ๒ ประเภทคือเป็นแบบไออ้อนบวก และไออ้อนลบ โดยทั่วไปจะนิยมใช้แบบ แคทไออ้อนเรซิน หรือไออ้อนลบ โดยจะใช้นำมากรองความกระด้าง ความกระด้างเป็นสารละลายที่อยู่ในรูปของไออ้อนต่าง ๆ โดยสารกรองจะมีคุณสมบัติในการแลกเปลี่ยน ไอ อ้อน ซึ่งจะทำให้ความกระด้างออกจากน้ำ สารกรองเรซินเมื่อผ่านการใช้งานไปได้ระยะหนึ่งจะเสื่อมสภาพลงและหมดสภาพไปไม่ สามารถแลก เปลี่ยนไออ้อนได้อีก จึงต้องทำการฟื้นสภาพ หรือรีเจนเนอเรชั่น เพื่อให้มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนไออ้อนดังเดิม หรือ ใกล้เคียงสภาพ เดิม โดยทั่วไปในการฟื้นสภาพ เรซินจะใช้สารละลายเกลือแกงความเข้มข้นตามที่ผู้ผลิตกำหนด โดยให้ค่อย ๆ ไหลผ่าน หรือโดยแช่เรซินใน สารละลายดังกล่าวเป็นระยะเวลาหนึ่ง (๑ - ๒ ชั่วโมง) แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดให้หมดความเค็ม เรซินที่ผ่านการใช้งาน และการฟื้นสภาพมา หลายครั้งแล้ว จะมีความสามารถแลกเปลี่ยนไออ้อนลดลง จึงต้องทำการเปลี่ยนสารเรซินใหม่ โดยสเปคของผู้ผลิตระบุให้ อยู่ประมาณ ๓ - ๕ ปี ขึ้นอยู่กับสภาพและปริมาณการใช้น้ำของแต่ละแห่ง
ที่มาข้อมูล: บริษัท เซมวิค จำกัด
E - Mail : [email protected]